ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายนของทุกปี สูงวัยอย่างสุขใจ ในวัยสูงอายุ


วันสำคัญ

12 เม.ย. 66

อธิเจต มงคลโสฬศ

Logo Thai PBS
แชร์

ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายนของทุกปี สูงวัยอย่างสุขใจ ในวัยสูงอายุ

https://www.thaipbs.or.th/now/content/113

ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายนของทุกปี สูงวัยอย่างสุขใจ ในวัยสูงอายุ
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ไทยพีบีเอสขอนำเสนอความเป็นมาของวันผู้สูงอายุแห่งชาติรวมถึงเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ เพื่อชวนให้ทุกคนตระหนักถึงอีกวันสำคัญหนึ่งกลางวันสงกรานต์เทศกาลแห่งครอบครัวนี้ สูงวัยอย่างสุขใจ ในวัยสูงอายุ

 

ประเทศไทยประกาศให้มีวันผู้สูงอายุแห่งชาติก่อนสหประชาชาติกำหนดวันผู้สูงอายุสากล

ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีมตินี้ก่อนที่องค์การสหประชาชาติจะกำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็น วันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534

ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12,519,926 คนหรือ 18.94% ของประชากรทั้งหมด
ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไท ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุอยู่ที่ 12,519,926 คน หรือคิดเป็น 18.94% ของประชากรทั้งประเทศ ตามนิยายขององค์การสหประชาชาติแล้ว ประเทศไทยกำลังอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และกำลังขยับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุที่ 20% ของประชากรทั้งหมดแล้ว

 

"ดอกลำดวน" สัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ
"ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน เปรียบเสมือนกับผู้สูงอายุที่เป็นที่พึ่งให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลาน ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกแข็งไม่ร่วงง่าย เปรียบได้กับผู้ทรงคุณธรรมพร้อมไปด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และความดีงามเป็นแบบอย่างการประพฤติให้แก่ลูกหลาน อีกทั้งสีเหลือง น้ำตาลของดอกลำดวนยังให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่น และไออุ่นของบุพการีด้วย

 

เหงาเฉียบพลัน อันตรายที่ลูกหลานควรป้องกัน
สถิติจากกรมสุขภาพจิต เผยว่า คนอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จะเผชิญกับสถานการณ์ความเหงาเฉียบพลันได้ 1 ใน 10 ซึ่งสาเหตุหลักของความเหงาในผู้สูงอายุ มักมาจากการเสียชีวิตของคนในครอบครัว รองลงมา คือขาดการติดต่อจากคนใกล้ชิด หากขาดการดูแลอาจกลายเป็นความเหงาเรื้อรัง เป็นจุดเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า ส่งผลให้เกิดโรคทางกายหลายโรค เช่น ความดันโลหิตสูง ภูมิต้านทานต่ำ การนอนผิดปกติ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เอาใจเขาใส่ใจเรา ดูแลวัยเก๋าด้วยความเข้าใจ
ทำความรู้จัก วันผู้สูงอายุสากล

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงวัยวันผู้สูงอายุแห่งชาติดอกลำดวน
อธิเจต มงคลโสฬศ
ผู้เขียน: อธิเจต มงคลโสฬศ

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส สนใจเนื้อหาด้านสุขภาพจิต สาธารณสุข และความยั่งยืน รวมถึงประเด็นทันกระแสที่มีแง่มุมน่าสนใจซ่อนอยู่

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด