7 ทริกสังเกต ! “สมัครงาน” ของจริงหรือปลอม ?


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

9 ก.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

7 ทริกสังเกต ! “สมัครงาน” ของจริงหรือปลอม ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1574

7 ทริกสังเกต ! “สมัครงาน” ของจริงหรือปลอม ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

โปรดระวัง ! “มิจฉาชีพ” มามุกใหม่อีกแล้ว โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ HR บริษัทชื่อดังต่าง ๆ ติดต่อมาขอสัมภาษณ์งาน แล้วหลอกขอเอกสารส่วนบุคคลสำหรับทำสัญญาจ้าง และชวนให้ทำงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางบริษัท รวมถึงมีการเรียกเก็บเงินค่าสมัครตำแหน่งงานล่วงหน้า

male-candidate-interviewed-by-diverse-hr-team

วิธีสังเกต HR รับสมัครงานปลอม

1. ขอข้อมูลส่วนตัวหรือเอกสารที่ไม่จำเป็น

ขอข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียด เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าได้งาน

2. ตำแหน่งงาน หรือเงินเดือนดูดีเกินจริง

ประกาศรับสมัครงานที่ให้ตำแหน่งสูงหรือเงินเดือนสูงเกินจริงโดยไม่ต้องการคุณสมบัติพิเศษ อาจเป็นสัญญาณของการหลอกลวง

3. ไม่มีข้อมูลบริษัทที่ชัดเจน

ไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท เช่น ที่อยู่ ชื่อเว็บไซต์ หมายเลขโทรศัพท์หรือข้อมูลการติดต่ออื่น ๆ ที่ตรวจสอบได้

4. ใช้ที่อยู่อีเมลทั่วไป

HR ของบริษัทจริงจะใช้ที่อยู่อีเมลที่เป็นโดเมนของบริษัทไม่ใช่ที่อยู่อีเมลทั่วไป เช่น Gmail

Scammer

5. รีบเร่งให้ตอบรับหรือโอนเงิน

รีบเร่งให้คุณตอบรับงานหรือทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว รวมถึงการขอให้โอนเงินเพื่อจองตำแหน่งหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

6. การสัมภาษณ์งานที่ผิดปกติ

สัมภาษณ์โดยการส่งข้อความผ่านทางแชตโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ให้คลิกลิงก์กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร หรือมีการพูดคุยทางโทรศัพท์ที่มีการพูดจาไม่ชัดเจนถึงรายละเอียดของงาน

7. ข้อความมีข้อผิดพลาด

ประกาศงานหรือข้อความอีเมลที่มีการสะกดคำผิด หรือใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการอาจเป็นสัญญาณของ HR ปลอม

Thai PBS Sci & Tech และ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนว่าอย่าส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้กับแหล่งสมัครงานที่ไม่น่าเชื่อถือ หากจะส่งเอกสารสมัครงานกับบริษัทใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีเมล และเบอร์โทร.ของบริษัทหรือสำนักงานว่าเป็นของจริงหรือไม่ ? โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนของบริษัทได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


Thai PBS Sci & Tech เตือนภัย..ใกล้ตัว !

📌อ่าน : 3 ทริกป้องกันตกเป็นเหยื่อ หลอกลวงด้วย AI

📌อ่าน : ระวังมิจฯ หลอก ! โอนเงินช่วยคนน้ำท่วม – ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา

📌อ่าน : อย่าหลงเชื่อพี่มิจฯ ! “ฮั่วเซ่งเฮง” ไม่มีการเปิดให้ “ลงทุนหุ้นทองคำ”

📌อ่าน : ทริกตั้งค่า iPhone ก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

📌อ่าน : เตือนภัย ! มิจฉาชีพส่งลิงก์หลอก “Gmail โดนแฮก”


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

หลอกสมัครงานสมัครงานออนไลน์สมัครงานเตือนภัยมิจฉาชีพข้อมูลส่วนบุคคล Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Cyber Security CybersecurityTips & Trick, How to
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด