ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เหมือนกันจนน่าสงสัย! “เรซูเม่” สร้างโดย AI กำลังสร้างปัญหาให้ HR


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

จิราภพ ทวีสูงส่ง

แชร์

เหมือนกันจนน่าสงสัย! “เรซูเม่” สร้างโดย AI กำลังสร้างปัญหาให้ HR

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2872

เหมือนกันจนน่าสงสัย! “เรซูเม่” สร้างโดย AI กำลังสร้างปัญหาให้ HR

การรับสมัครงานทางออนไลน์เพื่อความสะดวกของบริษัทและคนหางาน แต่ปัจจุบันการเข้ามาของ AI ทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากเรซูเม่ของผู้สมัครงานมีความคล้ายคลึงกันจนน่าสงสัยว่าใช้ AI สร้างขึ้น ?

ปัจจุบัน “นายจ้าง” กำลังจมอยู่กับใบสมัครงานที่สร้างโดย AI โดย LinkedIn ประมวลผลใบสมัครงาน 11,000 ใบต่อนาที ซึ่งเพิ่มขึ้น 45 เปอร์เซ็นต์จากปี 2024 ตามข้อมูลที่รายงานโดย The New York Times

AI ช่วยให้กระบวนการรับสมัครงานง่ายขึ้นสำหรับนายจ้าง ส่วนคนสมัครงานก็นำประโยชน์มาใช้เช่นกัน เช่น ใช้เครื่องมือ AI อย่าง ChatGPT สร้างเรซูเม่ AI ให้เข้ากับ Job Description (JD) ได้อย่างดีเยี่ยมในเวลาไม่กี่อึดใจ โดยใช้คีย์เวิร์ดทั้งหมดที่บริษัทรับสมัครงานต้องการนำมาใส่ในเรซูเม่

The Times เผยข้อมูลว่า HR ที่ชื่อ Katie Tanner ซึ่งได้รับใบสมัครงานเพียงตำแหน่งเดียวมากกว่า 1,200 ใบ จนเธอต้องขอลาออก เพราะต้องคัดแยกใบสมัครอยู่ถึง 3 เดือนเลยทีเดียว

ขณะนี้ ผู้สมัครงานบางคนใช้ระบบอัตโนมัติในระดับที่สูงขึ้น โดยจ่ายเงินให้กับตัวแทน AI เพื่อช่วยค้นหางานและส่งใบสมัครงานแทนแบบอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทที่เปิดรับสมัครงานให้ข้อมูลตรงกันว่า ประวัติย่อในเรซูเม่หลายฉบับดูคล้ายกันจนน่าสงสัย ทำให้ยากต่อการระบุผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือสนใจอย่างแท้จริง

พื่อตอบสนองต่อกระแสดังกล่าว หลายบริษัทจึงได้นำระบบป้องกัน AI มาปรับใช้ เครื่องมือคัดกรองแชตบอต AI เมื่อผู้สมัครงานใช้ AI เพื่อสร้างคำตอบในการสัมภาษณ์ บริษัทก็ใช้ AI เพื่อตรวจจับคำตอบดังกล่าว

ดังนั้น LinkedIn ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่กำลังประสบปัญหานี้ จึงได้เสนอเครื่องมือ AI ที่จะช่วยให้ผู้คัดเลือกบุคลากร เช่น AI ที่สามารถเขียนข้อความ ติดตามผล สนทนาคัดกรอง แนะนำผู้สมัครที่มีความสามารถสูง และค้นหาผู้สมัครที่มีศักยภาพโดยใช้ภาษาธรรมชาติบนแพลตฟอร์ม เป็นต้น

นอกเหนือจากปริมาณแล้ว การฉ้อโกงยังก่อให้เกิดภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา กระทรวงยุติธรรมได้ประกาศฟ้องร้องในแผนการจ้างชาวเกาหลีเหนือให้ทำงานด้านไอทีในบริษัทต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ในตำแหน่งทำงานระยะไกล ซึ่ง “Gartner” บริษัทวิจัยได้เปิดเผยว่า คดีปลอมแปลงบัตรประจำตัวกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประเมินว่าภายในปี 2028 ผู้สมัครงานประมาณ 1 ใน 4 คนอาจเป็นคนฉ้อโกง



และแม้ว่าเครื่องมือคัดกรองด้วย AI จะทำงานตามที่ตั้งใจไว้ แต่เครื่องมือเหล่านี้ก็ยังมีอคติคล้ายการใช้คนเป็นผู้คัดเลือกเช่นกัน โดยมักให้น้ำหนักกับผู้ชายผิวขาวมากกว่า ซึ่งทำให้เกิดข้อกังวลทางกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรปได้จัดประเภทการจ้างงานไว้ในหมวดหมู่ความเสี่ยงสูงโดยมีข้อจำกัดที่เข้มงวด ขณะที่สหรัฐฯ ยังไม่มีกฎหมายใดที่กล่าวถึงการใช้ AI ในการจ้างงานโดยเฉพาะ แต่กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติทั่วไปยังใช้บังคับอยู่

ด้วยเหตุนี้ “เรซูเม่” ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้สมัครสนใจและมีคุณสมบัติเหมาะสมนั้นอาจเปลี่ยนไปแล้ว ในอนาคตการจ้างงานอาจต้องเลิกพึ่งพาประวัติย่อ แล้วหันไปใช้วิธีที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่สามารถทำซ้ำได้ง่าย ๆ เช่น การแก้ปัญหาสดหน้างาน การตรวจสอบผลงาน หรือมีช่วงทดลองงานเพื่อพิสูจน์ฝีมือคน ๆ นั้นให้เป็นที่ประจักษ์ เป็นต้น


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : arstechnica

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรซูเม่สมัครงานสมัครงานออนไลน์HRHuman Resourcesฝ่ายบุคคลฝ่ายทรัพยากรบุคคลเอไอปัญญาประดิษฐ์AIแชตบอตChatbotChatGPTเทคโนโลยีTechnologyInnovationนวัตกรรมThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech World
จิราภพ ทวีสูงส่ง

ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

"เซบา บาสตี้" เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส คนทำงานด้านการเขียน : Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด