พฤกษศาสตร์น่ารู้ Thai PBS, Thai PBS Sci & Tech, ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชวนมาทำความรู้จักกับความงดงามที่ซ่อนอยู่ในป่าลึก กับ “เอื้องสายแสง” (Dendrobium sanguinolentum Lindl.) กล้วยไม้ป่าหายากที่กำลังสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักวิจัยและผู้หลงใหลธรรมชาติ
“เอื้องสายแสง” เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่ถูกค้นพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล บริเวณความสูง 600-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความโดดเด่นของกล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ที่ลำลูกกล้วยสีม่วงเรียวยาวกว่า 60 เซนติเมตรที่เลื้อยคดเคี้ยวไปมา ชูช่อดอกที่ออกตามข้อบริเวณปลายลำลูกกล้วยที่ทิ้งใบจนหมด
ดอกของเอื้องสายแสงมีสีเหลืองครีมงดงาม โดยมีแถบสีม่วงพาดตามยาวบนกลีบดอกและกลีบเลี้ยง สร้างความตัดกันที่น่ามอง ที่สำคัญคือกลีบปากรูปไข่กลับที่มีฐานสีขาว และมีติ่งแหลมคล้ายหนามสีเหลืองยาว 0.5 เซนติเมตร เพิ่มความแปลกตา ชัดเจนด้วยจุดแต้มสีส้มรูปสี่เหลี่ยมระหว่างหูกลีบปากทั้งสองข้าง และปลายกลีบปากสีเหลืองครีมที่หยักเป็นริ้ว ตรงกลางเว้าบุ๋ม เพิ่มมิติให้กับดอกยิ่งขึ้น
ความพิเศษของเอื้องสายแสงไม่ได้มีเพียงรูปลักษณ์ แต่ยังรวมถึงการออกดอกตลอดทั้งปี ทำให้เราสามารถชื่นชมความงามของมันได้ไม่จำกัดฤดู
ทั้งนี้ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นย้ำว่า กล้วยไม้ป่าเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบนิเวศ ความสวยงามของเอื้องสายแสงจึงควรคงอยู่คู่กับป่าเท่านั้น เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน
Thai PBS Sci & Tech พรรณไม้น่ารู้
📌อ่าน : ถูกค้นพบในไทยเป็นที่แรก! “ว่านดอกสามสี” พืชไร้ใบแห่งสยาม
📌อ่าน : งามปะล้ำปะเหลือ! “พลอง” อัญมณีม่วงแห่งป่าเมืองไทย
📌อ่าน : ชนิดใหม่ของโลก! ค้นพบ “กระเจียวเทพอัปสร” พืชวงศ์ขิง สกุลขมิ้น จากเมืองสามหมอก
📌อ่าน : เรื่องกล้วย ๆ ที่ไม่กล้วย EP3 : “กล้วยมูสัง” กล้วยของชะมด ที่ไม่ใช่พืชวงศ์กล้วย
📌อ่าน : กล้วยไม้เข็มม่วง อัญมณีแห่งผืนป่าไทย
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จ.สุราษฎร์ธานี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 สุราษฎร์ธานี
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech