แก้ปัญหา “ขาดแคลนน้ำจืด” ออกแบบ “ฟาร์มทะเลลอยน้ำ” ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

12 ก.ย. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แก้ปัญหา “ขาดแคลนน้ำจืด” ออกแบบ “ฟาร์มทะเลลอยน้ำ” ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

อีกหนึ่งแนวทาง "แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ" ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ สู่การออกแบบ “ฟาร์มทะเลลอยน้ำ” ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตน้ำจืดสำหรับดื่มและการเกษตร

สำหรับ “ฟาร์มทะเลลอยน้ำ” เป็นการทำให้น้ำทะเลระเหยกลายเป็นไอ จากนั้นจะรีไซเคิลเป็นน้ำจืดโดยใช้ 2 ห้องก็คือ ห้องด้านบนคล้ายกับเรือนกระจก และห้องด้านล่างสำหรับเก็บน้ำ ซึ่งจะควบแน่นและลำเลียงไปยังห้องเพาะปลูกพืชต่อไป

โดยคณะนักวิจัยจากสถาบันอุตสาหกรรมแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย (University of South Australia: UniSA) ประสบความสำเร็จในการปลูกพืชบนผิวทะเล ได้แก่ ผักกาดหอม กวางตุ้ง บรอกโคลี โดยไม่ต้องดูแลหรือรดน้ำเพิ่ม

ในอนาคตทีมวิจัยวางแผนขยายขนาดการออกแบบ “ฟาร์มทะเลลอยน้ำ” ไปสู่การสร้างฟาร์มทะเลชีวนิเวศ (Biodome) ลอยน้ำขนาดใหญ่มหึมาบนมหาสมุทร หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กจำนวนมากลอยบนทะเล เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกรวมถึงผลิตน้ำจืดในพื้นที่ขาดแคลนต่อไป

--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ซินหัวไทย, มหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย  

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ขาดแคลนน้ำจืดปัญหาขาดแคลนน้ำแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำฟาร์มทะเลลอยน้ำThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech World
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)