จะเกิดอะไรขึ้น ? เมื่อกล้องฯ ฮับเบิล และเจมส์ เว็บบ์ ผนึกกำลังกัน


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

20 พ.ย. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

จะเกิดอะไรขึ้น ? เมื่อกล้องฯ ฮับเบิล และเจมส์ เว็บบ์ ผนึกกำลังกัน

https://www.thaipbs.or.th/now/content/512

จะเกิดอะไรขึ้น ? เมื่อกล้องฯ ฮับเบิล และเจมส์ เว็บบ์ ผนึกกำลังกัน
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

องค์การนาซา (NASA) เผยภาพใหม่ เป็นการรวมพลังระหว่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (James Webb Space Telescope) แสดงให้เห็นกาแล็กซีนับร้อยแห่งกระจัดกระจายอยู่ในภาพ จากการนำภาพถ่ายในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็นรวมเข้ากับภาพถ่ายในช่วงคลื่นอินฟราเรด ทำให้ได้ภาพกระจุกกาแล็กซีแห่งนี้ด้วยรายละเอียดภาพที่คมชัดที่สุด

นี่คือกระจุกกาแล็กซี MACS0416 อยู่ห่างออกไปจากโลก 4,300 ล้านปีแสง เป็นกระจุกกาแล็กซี 2 กระจุกที่กำลังชนกัน ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะรวมตัวกันเป็นระบบเดียวกันในที่สุด ในภาพแสดงให้เห็นกาแล็กซีสีสันต่าง ๆ ตามคุณสมบัติของกาแล็กซีนั้น ๆ เช่น กาแล็กซีที่มีสีฟ้า จะเป็นกาแล็กซีที่มีระยะห่างจากโลกน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกาแล็กซีสีอื่น รวมทั้งแสดงถึงการมีอัตราการให้กำเนิดดาวฤกษ์ที่สูง ซึ่งกาแล็กซีที่มีลักษณะเช่นนี้ กล้อง Hubble จะตรวจจับได้ดีกว่ากล้อง JWST ขณะที่กาแล็กซีที่มีสีแดง จะเป็นกาแล็กซีที่มีองค์ประกอบเป็นฝุ่นอยู่อย่างหนาแน่น ฝุ่นเหล่านี้จะดูดกลืนแสงสีฟ้า จึงปรากฏในภาพเป็นกาแล็กซีสีแดงสดใส กล้อง JWST ในช่วงคลื่นอินฟราเรดจะให้รายละเอียดของกาแล็กซีประเภทนี้ได้ดีกว่ากล้อง Hubble

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : NASA, ธนกร อังค์วัฒนะ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

แท็กที่เกี่ยวข้อง

กล้องฮับเบิลกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลHubble Space TelescopeJames Webb Space Telescopeดาราศาสตร์ดูดาวอวกาศThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Space - Astronomy
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด