ภารกิจสุดสำคัญ “แม่หมึก” อุ้มไข่เกือบ 3,000 ใบ นานหลายเดือนผ่านมหาสมุทร


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

16 ม.ค. 67

สุพัตรา ผาบมาลา

Logo Thai PBS
ภารกิจสุดสำคัญ “แม่หมึก” อุ้มไข่เกือบ 3,000 ใบ นานหลายเดือนผ่านมหาสมุทร

“หมึกตาดำ” (Gonatus Onyx) หรือรู้จักในลักษณะที่โดดเด่นของดวงตาข้างในสีดำโตและมีขอบสีขาว เป็นหนึ่งในหมึกสายพันธุ์ที่มีมากที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งสายพันธุ์ตัวแม่ขึ้นชื่อเรื่องของการดูแลไข่เป็นอย่างดี

ทำไม ? “แม่หมึก” ต้อง “อุ้มไข่”

การอุ้มไข่สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวในหนึ่งชีวิตของการเป็น “แม่หมึก” โดยจำนวนไข่จะอยู่ที่ 2,000 - 3,000 ใบ และใช้ระยะเวลาประมาณ 6 - 9 เดือน ก่อนตัวแม่จะวางไข่จริง ๆ ในขณะที่ไข่หมึกค่อย ๆ เติบโตขึ้นอย่างเต็มที่ ความสามารถในการลากไข่ของแม่หมึกจากภัยอันตรายนั้นจะลดลง เช่นเดียวกันชีวิตตนเองก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงเรื่อย ๆ

โดยปกติปลาหมึกชนิดนี้จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้น และช่วงผสมพันธุ์จะไม่สามารถว่ายน้ำได้เร็วนัก แต่เพื่อเป็นการปกป้องไข่จากอันตรายอย่างเต็มที่ก่อนวางไข่ จากเหล่านักล่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในมหาสมุทรนี้ จึงหลีกหนีด้วยการดำน้ำในมหาสมุทร ความลึกโดยประมาณต่ำกว่า 1,500 เมตร รายละเอียดจากงานวิจัยในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 66 ที่ผ่านมาได้ให้ข้อมูลไว้

🎬 รับชมคลิป : ภาพอันน่าอัศจรรย์ภารกิจสุดท้ายในชีวิตของ “แม่หมึก” ลากไข่นับพันใบผ่านมหาสมุทรเพื่อหาที่วางไข่ 

ด้วยสัญชาตญาณความเป็นแม่ กับการดูแลชีวิตตน

การลากไข่เพื่อหาที่วางไข่ ยังเป็นการปกป้องไข่ของตัวเองอีกด้วย จากการบันทึกการตอบสนองต่อเรือดำน้ำ ในรายงานปี 2548 ของ แบรด ไซเบล นักชีววิทยาทางทะเล มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดาและเพื่อนร่วมงาน

และด้วยความที่ “ปลาหมึกตาดำ” ต้องอุ้มและลากไข่ด้วยหนวดที่ซึ่งปกติต้องว่ายน้ำด้วยหนวด ในระหว่างอุ้มไข่การว่ายน้ำในท่าเดิมอาจส่งผลกระทบให้ไข่หลุดออกจากกันได้ จึงใช้ครีบในการว่ายน้ำแทน และในระหว่างอุ้มไข่นั้น “แม่หมึก” จะไม่สามารถหาอาหารกินได้เอง จึงต้องพึ่งพาพลังงานที่สะสมไว้ในช่วงก่อนจะเริ่มวางไข่

แม้จะมีความเสี่ยง แต่การอพยพและมีชีวิตรอด ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ก่อนที่ลูกจะฟักตัวออกมา เป็นภารกิจสุดท้ายแสนสำคัญของ “แม่หมึก” เนื่องจากสามารถวางไข่ได้ครั้งเดียวก่อนจะสิ้นชีวิตไป หรือไม่ “แม่หมึก” เองที่อาจจะตายก่อน จากการพยายามปกป้องลูกก่อนลืมตาดูโลก

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : Sciencealert, indiatoday, livescience
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

หมึกตาดำGonatus Onyxแม่หมึกวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
สุพัตรา ผาบมาลา
ผู้เขียน: สุพัตรา ผาบมาลา

นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชา ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ ผู้รักในการเขียนและการเล่าเรื่อง

บทความ NOW แนะนำ