ว่าด้วยการพัฒนาโคเนื้อในจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากความสำเร็จของ "หมูดำน่าน" โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงวัวได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนต่ำ ใช้เวลาขุนสั้น และได้เนื้อคุณภาพสูง เพื่อตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภคทั้งในพื้นที่และกลุ่มร้านอาหารที่ต้องการวัตถุดิบท้องถิ่นคุณภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย แก้วละมุล อธิบายว่าโครงการนี้เป็นการสร้างระบบ In Nan Production หรือระบบผลิตเนื้อคุณภาพในพื้นที่น่านเองทั้งหมด ทั้งพันธุกรรมวัว การจัดการฟาร์ม การพัฒนาอาหารวัว การป้องกันโรค และแผนอนาคตสู่การมีโรงตัดแต่งและระบบตลาดครบวงจร โดยเริ่มทดลองคุณภาพเนื้อและส่งต่อให้เชฟในพื้นที่นำไปสร้างสรรค์เมนู
สลัดสุดกองดี : เนื้อย่างราดน้ำจิ้มแจ่วพริกลาบ เสิร์ฟโดยเชฟเมย์ จากร้าน "สุดกองดี" ทั้งยังมีการทดสอบเนื้อจากน่าน และแนะนำการปรุงโดยคุณเมิร์ฟ
Contemporary Beef Menu : เมนูร่วมสมัยจากเนื้อวัวท้องถิ่น เสิร์ฟโดยเชฟบอยจากร้าน Season The Craft
เชฟและผู้ชิมต่างให้ความเห็นว่า เนื้อน่านมีศักยภาพที่ยังสามารถพัฒนาต่อได้ และหากพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถลดการพึ่งพาเนื้อนำเข้า สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบท้องถิ่น และนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ได้ในอนาคต
ตอกย้ำว่าการเลี้ยงวัวไม่ใช่แค่เรื่องอาหาร แต่เป็นการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ วิถีชีวิต และอำนาจต่อรองในระบบอาหารของไทย หากวันนี้เราร่วมกันพัฒนาในพื้นที่ ก็จะไม่ต้องพึ่งพาเนื้อนำเข้าในวันหน้า
เตรียมอิ่มท้อง อิ่มใจ และได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวของ "วัฒนธรรมที่กินได้" ไปพร้อมกันในรายการ Cook Culture วันอาทิตย์ 13 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.00 - 08.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
ว่าด้วยการพัฒนาโคเนื้อในจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากความสำเร็จของ "หมูดำน่าน" โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงวัวได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนต่ำ ใช้เวลาขุนสั้น และได้เนื้อคุณภาพสูง เพื่อตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภคทั้งในพื้นที่และกลุ่มร้านอาหารที่ต้องการวัตถุดิบท้องถิ่นคุณภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย แก้วละมุล อธิบายว่าโครงการนี้เป็นการสร้างระบบ In Nan Production หรือระบบผลิตเนื้อคุณภาพในพื้นที่น่านเองทั้งหมด ทั้งพันธุกรรมวัว การจัดการฟาร์ม การพัฒนาอาหารวัว การป้องกันโรค และแผนอนาคตสู่การมีโรงตัดแต่งและระบบตลาดครบวงจร โดยเริ่มทดลองคุณภาพเนื้อและส่งต่อให้เชฟในพื้นที่นำไปสร้างสรรค์เมนู
สลัดสุดกองดี : เนื้อย่างราดน้ำจิ้มแจ่วพริกลาบ เสิร์ฟโดยเชฟเมย์ จากร้าน "สุดกองดี" ทั้งยังมีการทดสอบเนื้อจากน่าน และแนะนำการปรุงโดยคุณเมิร์ฟ
Contemporary Beef Menu : เมนูร่วมสมัยจากเนื้อวัวท้องถิ่น เสิร์ฟโดยเชฟบอยจากร้าน Season The Craft
เชฟและผู้ชิมต่างให้ความเห็นว่า เนื้อน่านมีศักยภาพที่ยังสามารถพัฒนาต่อได้ และหากพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถลดการพึ่งพาเนื้อนำเข้า สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบท้องถิ่น และนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ได้ในอนาคต
ตอกย้ำว่าการเลี้ยงวัวไม่ใช่แค่เรื่องอาหาร แต่เป็นการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ วิถีชีวิต และอำนาจต่อรองในระบบอาหารของไทย หากวันนี้เราร่วมกันพัฒนาในพื้นที่ ก็จะไม่ต้องพึ่งพาเนื้อนำเข้าในวันหน้า
เตรียมอิ่มท้อง อิ่มใจ และได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวของ "วัฒนธรรมที่กินได้" ไปพร้อมกันในรายการ Cook Culture วันอาทิตย์ 13 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.00 - 08.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง: