EN

แชร์

Copied!

ตรวจสอบแล้ว: คลิปภูเขาไฟชินโมเอดาเกะปะทุ พ่นเถ้าถ่านสูง 6.8 กม. พบเป็นสร้างจาก AI

18 ก.ค. 6813:16 น.
รอบโลก#ข่าวปลอม
ตรวจสอบแล้ว:  คลิปภูเขาไฟชินโมเอดาเกะปะทุ พ่นเถ้าถ่านสูง 6.8 กม. พบเป็นสร้างจาก AI

พบคลิปวิดีโออ้างว่า “ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ” ปะทุในญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญชี้เป็นเพียงภาพ AI

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ใช้ TikTok แชร์คลิปวิดีโอภาพภูเขาไฟ ชินโมเอดาเกะ  ปะทุในญี่ปุ่นตอนใต้  โดยระบุว่า “เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาคิริชิมะ ปะทุอย่างรุนแรง ส่งผลให้เถ้าถ่านพวยพุ่งสูงถึง 6.8 กิโลเมตร หรือ 22,000 ฟุต ปกคลุมเมืองคาโกชิมะและมิยาซากิ”  

จากการตรวจสอบเรื่องนี้ Thai PBS Verify พบว่าเป็นข่าวปลอม ที่บิดเบือนข้อมูล โดยมีข้อมูลจริงคือ ภูเขาไฟ ชินโมเอดาเกะมีการปะทุ ส่วนข้อมูลเท็จคือ มีการใช้ภาพเอไอเป็นรูปประกอบเนื้อหา โดยภาพมีลักษณะฟ้าผ่าและมีการเผาไหม้ในปล่องภูเขาไฟ 

Thai PBS Verify พบแหล่งที่มาข่าวปลอมจาก : TikTok

ตรวจสอบแล้ว : คลิปภูเขาไฟชินโมเอดาเกะปะทุ พ่นเถ้าถ่านสูง 6.8 กม. พบเป็นสร้างจาก AI

ภาพภูเขาไฟชินโมเอดาเกะปะทุในญี่ปุ่นตอนใต้ วันที่ 3 กรกฎาคม 2568

Thai PBS Verify พบบัญชีผู้ใช้ TikTok โพสต์คลิป ภูเขาไฟ ชินโมเอดาเกะ ปะทุในประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ โดยคลิปดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นกว่า 47,000 ครั้ง รวมถึงการแชร์ไปกว่า 3,900 ครั้งด้วยกัน 

เรานำคลิปดังกล่าวมาทำการตรวจสอบผ่านเครื่องมือตรวจ decopy.ai  พบว่า คลิปดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจาก AI โดยข้อมูลวิเคราะห์ว่า ภาพดังกล่าวถูกสร้างจาก AI ถึง 96.20 %

ตรวจสอบแล้ว : คลิปภูเขาไฟชินโมเอดาเกะปะทุ พ่นเถ้าถ่านสูง 6.8 กม. พบเป็นสร้างจาก AI

ภาพภูเขาไฟชินโมเอดาเกะที่ตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจสอบ AI

ขณะที่ตรวจสอบผ่านสำนักข่าว  NHK World Japan ซึ่งเป็นสำนักข่าวจากประเทศญี่ปุ่น ได้รายงานเหตุการณ์นี้เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 พบการปะทุครั้งใหญ่ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568  โดยภาพการปะทุดังกล่าว ไม่ได้มีภาพของฟ้าผ่า หรือกลุ่มควันพวยพุ่งออกมาเหมือนกับคลิปที่ถูกแชร์ขึ้นแต่อย่างใด (ลิงก์บันทึกนี่)

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันสร้างจาก AI

ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กล่าวว่า จากภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจาก AI สังเกตจากภาพภูเขาไฟที่มีสัดส่วนใหญ่กว่าส่วนอื่นในภาพ  และในภาพยังเห็นไฟในปล่องภูเขาไฟ ซึ่งเมื่อเทียบกับภาพจริงหรือความเป็นจริง จะพบว่า ภาพภูเขาไฟจริงส่วนใหญ่จะมีแต่ควัน ดังนั้นหากเห็นภาพลักษณะนี้ ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อน ว่าเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างของ AI 

 

กระบวนการตรวจสอบ

  • ตรวจสอบภาพ/วิดีโอด้วยเครื่องมือ AIนำคลิปมาตรวจสอบผ่านเครื่องมือ Decopy.ai ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ภาพ พบว่าเป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ (AI-generated image)

     

  • ตรวจสอบข่าวจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือเช็กกับสำนักข่าว NHK World Japan พบว่ามีการนำเสนอข่าวเรื่องภูเขาไฟ ชินโมเอดาเกะ  ปะทุในญี่ปุ่น แต่ภาพที่มีการเสนอข่าวและภาพที่มีการแชร์ในออนไลน์คนละภาพกัน

     

  • ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาพ

    ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ชี้แจงว่า ภาพดังกล่าวแสดงลักษณะของภาพที่สร้างจาก AI เช่น ขนาดสัดส่วนของภูเขาไฟที่ผิดธรรมชาติ และการมีเปลวไฟในปล่องซึ่งไม่พบในภาพจริง

ผลกระทบของข้อมูลเท็จนี้

  • ทำให้ประชาชน เข้าใจผิด ว่าเกิดภัยพิบัติร้ายแรงในญี่ปุ่น 
  • สร้างความตื่นตระหนก 
  • ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะช่วงที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก 
  • ทำให้เกิด กระแสแชร์ซ้ำ โดยไม่ได้ตรวจสอบ ส่งผลให้ข่าวปลอมแพร่กระจายกว้างขวางยิ่งขึ้น

ข้อแนะนำเมื่อได้ข้อมูลเท็จนี้ ?

  1. อย่าเพิ่งแชร์ทันที ควรตรวจสอบแหล่งที่มาก่อน 
  2. ใช้เครื่องมือช่วยตรวจสอบภาพ/วิดีโอ เช่น Google Reverse Image Search  
  3. เปรียบเทียบกับแหล่งข่าวทางการ เช่น สำนักข่าวต่างประเทศ, สถานทูต หรือหน่วยงานรัฐ 
  4. สังเกตความผิดปกติของภาพ เช่น แสงเงาผิดธรรมชาติ, รายละเอียดภาพดูผิดสัดส่วน และใช้คำที่กระตุ้นอารมณ์ เช่น “วิกฤต”, “ด่วนมาก”, “โปรดระวัง” โดยไม่มีหลักฐาน