ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทดสอบเหงื่อบน “ลายนิ้วมือ” ช่วยตรวจสอบ “ผู้ป่วย” กินยาตามหมอสั่งหรือไม่


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

7 ก.ย. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ทดสอบเหงื่อบน “ลายนิ้วมือ” ช่วยตรวจสอบ “ผู้ป่วย” กินยาตามหมอสั่งหรือไม่

https://www.thaipbs.or.th/now/content/302

ทดสอบเหงื่อบน “ลายนิ้วมือ” ช่วยตรวจสอบ “ผู้ป่วย” กินยาตามหมอสั่งหรือไม่
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ด้วยความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ “ลายนิ้วมือ” ที่นอกจากจะบอกความเป็นตัวตนของคน ๆ นั้น ไม่เหมือนใครบนโลกใบนี้แล้ว ยังสามารถบอกได้ด้วยว่า “ผู้ป่วย” กินยาตามหมอสั่งหรือไม่

สำหรับการรักษาอาการจิตเวชให้ได้ผล “ผู้ป่วย” จำเป็นต้องได้รับยาในปริมาณที่ถูกต้อง และต้องไม่หยุดรับประทานยา นอกจากนี้ต้องมีการ “ตรวจเลือดผู้ป่วย” เพื่อดูว่าใช้ยารักษาโรคจิตชนิดใด-ในปริมาณเท่าไรด้วย ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ สหราชอาณาจักร (University of Surrey) จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาทางรบกวนผู้ป่วยให้น้อยลง และทราบผลเร็วขึ้น สู่การค้นพบว่า สามารถตรวจพบยาบางชนิดได้ในตัวอย่างเหงื่อที่ปลายนิ้ว

สู่การทดสอบโดยการคัดเลือก 60 ผู้ป่วยที่รับประทานยารักษาโรคจิตเวช เช่น Clozapine (โคลซาปีน), Quetiapine (ควิไทอะปีน) พร้อมด้วยผู้ป่วย 30 รายที่ไม่ได้ใช้ยาดังกล่าว มากดปลายนิ้วกับกระดาษที่มีรูพรุนเป็นเวลา 30 วินาที จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธี “ลิควิดโครมาโตกราฟี แมสสเปกโตรเมทรี*” (Liquid Chromatography Mass Spectrometry)

จากการทดสอบผลปรากฏว่า สามารถตรวจพบยาในกลุ่มตัวอย่างได้ทั้งหมด ในกรณีของยาโคลซาปีน ยังสามารถวัดระดับยาในเหงื่อได้เช่นเดียวกับระดับที่วัดในกระแสเลือดผ่านการทดสอบทั่วไปได้ด้วย ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการ “ล้างมือ” ซึ่งอาจทำให้ผลทดสอบมีความคลาดเคลื่อนสูง แต่ในกรณีนี้สร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ศาสตราจารย์ เมลานี เบลีย์ (Prof. Melanie Bailey) ผู้เผยแพร่งานวิจัย เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในอนาคตจะมีการนำตัวยาชนิดอื่น ๆ มาทดสอบเพิ่มเติมว่าจะให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับยา โคลซาปีน และควิไทอะปีน หรือไม่ รวมถึงจะมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า “ลายนิ้วมือ” จะสามารถใช้วินิจฉัยโรคได้หรือไม่อีกด้วย

*เทคนิคเคมีวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการแยกสารผสมในสถานะของเหวลวด้วยหลักการโครมาโตกราฟี ร่วมกับความสามารถในการวัดมวลสารของเครื่องแมสสเปกโตรมิเตอร์ การต่อพ่วงกันของ 2 เทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวกับแมสสเปคโตรมิเตอร์นั้น ช่วยขยายขอบเขตการวิเคราะห์ในงาน การวิจัยทางยา งานสมุนไพร งานการศึกษาตัวอย่างทางชีวภาพ (omics)

--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : newatlas

แท็กที่เกี่ยวข้อง

อาการจิตเวชโรคจิตเวชรักษาอาการจิตเวชลายนิ้วมือกินยากินยาตามหมอสั่งThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด