บ้านนาคูณทุ่ง อ.นาหว้า จ.นครพนม มีพื้นที่อยู่ติด "แม่น้ำอูน" แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลคดเคี้ยว มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาภูพาน และหล่อเลี้ยงผู้คนใน 2 จังหวัด ทั้งสกลนครและนครพนม
ตลอดแม่น้ำอูน ทั้งในหมู่บ้านนาคูณทุ่ง และหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านม่วง บ้านตาล จะมี "แพสะดุ้ง" ทำจากไม้ไผ่ ตั้งอยู่ในลำน้ำอูน เรียงรายประมาณ 20 หลัง ในแต่ละหลังจะตั้งอยู่ในพื้นที่หาปลาของตัวเอง ที่เรียกว่า “ลวง” ซึ่งเป็นสิ่งสืบทอดกันมรดกมานานนับร้อยๆปี โดยจะเลือกตรงจุดโค้งของแม่น้ำ ซึ่งจะมีปลาไหลวนมาอยู่เยอะ เจ้าของแพสะดุ้งมีหลากรุ่น เช่น โฟม เป็นคนรุ่นใหม่ที่สืบทอดสะดุ้งมาจากตา และ "พ่อโกก และ แม่ป้อ" เจ้าของแพสะดุ้งวัย 60 กว่าปีที่สืบทอดสะดุ้งมาจากครอบครัว ซึ่งทุก 3-5 ปีจะมีการ “ซ้อนแพ”หรือซ่อมแซมสะดุ้งที่ชำรุด โดยเป็นการลงแรงไม่ต้องจ้าง ปลาที่ได้จากการยกสะดุ้งจะถูกนำมาแบ่งปัน เป็นน้ำใจให้ญาติพี่น้องในครอบครัวไม่ต้องซื้อ
ที่นี่สมบูรณ์ทั้งในน้ำและในป่า โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งจะมีของกินจากป่าที่พิเศษ อย่างเช่น จั๊กจั่น และไข่มดแดง
พี่บัติ คนหาไข่มดแดง จะเข้าป่าหาไข่มดแดงในป่าชุมชน พร้อมกับอุปกรณ์ ไม้สอยพร้อมผูกสวิงที่ปลายไม้ และมีไม้ต่อด้าม ให้ยาวได้อีก คนหาไข่มดแดงต้องอดทน เพราะต้องเดินหารังในป่า อย่างต่ำวันละ 4-5 กิโลเมตร บางครั้งได้บางครั้งไม่ได้ และต้องทนกับการถูกมดแดงกัด แต่ไข่มดแดงก็สร้างรายได้ดี มีราคาสูง กิโลกรัมละ 500-700 บาท
พี่คำมั่น คนหาจั๊กจั่น อุปกรณ์ในการหาจั๊กจั่น น่าสนใจ ใช้ ไม้สอยที่ความยาว ประมาณ 5 เมตร และที่สำคัญ ต้องใช้ ยางไม้ ที่ต้องไปตัดเอาจาก ต้นข่อยต้นขนุน แล้วเอามา ลนไฟ ให้ละลาย เพื่อไปติดที่ตัวจั๊กจั่น ไม่ให้บินหนีนำไปทำเมนูเด็ด เช่น แจ่วจั๊กจั่น ก้อยไข่มดแดง และ แกงผักหวานไข่มดแดง
วิถีของผู้คนที่นี่ยังผูกพันกับการสาน "กระติบ" ไว้ใส่ข้าวเหนียวกินและยังสร้างรายได้อย่างดี โดยมีวิธีการทำที่ดั้งเดิมโบราณ ตั้งแต่การเลือกไม้อ่อน 1 ปี และมีเคล็ดลับง่ายๆในการป้องกันมอดและเชื้อราได้เป็นอย่างดี
ติดตามชมเรื่องราวของ วิถีคนบ้านนาคูณทุ่ง อ.นาหว้า จ.นครพนม หมู่บ้านที่โชคดี อุดมสมบูรณ์ทั้งในป่าและในน้ำ วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง: