หลายคนอาจอาจสงสัยว่าเมื่อดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศแล้วจะสามารถทำงานได้เลยหรือไม่ ? คำตอบคือ “ยัง” ทำไมถึงยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที Thai PBS Sci & Tech ขอพาไปหาคำตอบ
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อดาวเทียมธีออส-2 ขึ้นไปสู่วงโคจรแล้ว จะต้องทดสอบระบบในอวกาศร่วมกับสถานีภาคพื้นดินก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีสถานการณ์เร่งด่วนเกิดขึ้น อาทิ ภัยพิบัติ THEOS-2 ก็สามารถสั่งถ่ายภาพได้ภายใน 5 - 8 วัน หลังจากดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร
ขณะที่ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า หลังจากดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรแล้ว จะทำการปรับตัวเพื่อเข้าสู่โหมดของการทำงาน รวมทั้งทดสอบระบบควบคุมและติดต่อสื่อสารกับภาคพื้นดินเพื่อความเสถียรและความแม่นยำของข้อมูลโดยใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น GISTDA จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เพื่อนำไปต่อยอดหรือให้การบริการเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงจะเป็นแรงผลักดันขับเคลื่อนด้านการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรมในการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ และเทคโนโลยีอวกาศในการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในสาขาที่เกี่ยวข้องต่อไป
เรื่องน่ารู้ส่งท้าย : ดาวเทียม “ไทยโชต” หรือ THEOS-1 ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 51 ก่อนจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 1 มิ.ย. 52
ติดตามคอนเทนต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-2” เพิ่มเติม ได้ที่นี่
• #SciTechVocab คำศัพท์น่ารู้ “THEOS-2”
• คลิปสั้นเข้าใจง่าย : ชวนรู้จักประโยชน์ของดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-2
• คลิปสั้นเข้าใจง่าย : ก้าวต่อไปของเทคโนโลยีดาวเทียมในประเทศไทย
• 10 Facts Number ดาวเทียม “THEOS-2” แต่ละตัวเลขบอกอะไรบ้าง ?
• พาไปรู้จัก 3 วัสดุ ประกอบ “THEOS-2” ให้กลายเป็น “ดาวเทียมสำรวจโลก”
• ประโยชน์ 6 ด้าน ! ดาวเทียม THEOS-2 ช่วยพัฒนา “ประเทศไทย” อย่างไร
• เปิดจุดเด่น #ดาวเทียมTHEOS2 มีดีอย่างไร ?
• ควบคุมอย่างไร ? เมื่อดาวเทียม “THEOS-2” เตรียมทะยานสู่ห้วงอวกาศ
• รู้จัก “ฉนวนกันความร้อน” ดาวเทียม “THEOS-2” เกราะป้องกันความร้อน-เย็นที่มากเกินไป
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)