รากสยามในแดนมลายูด่านพรมแดนไทย - มาเลเซีย เปิดพร้อมแล้ว ออกเดินทางไปที่รัฐเคดาห์ นครรัฐแห่งประวัติศาสตร์ระหว่างไทยและมลายู และกลุ่มชาติพันธุ์ไท ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยที่เรียกตัวเองว่าชาวสยาม ยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทย แม้ในวิกฤตโควิด-19
เฝ้ารอการผลิดอกใหม่ ในคานาซาวะ"คานาซาวะ" หนึ่งในเมืองที่ทาง UNESCO จัดให้เป็น creative city ทว่าปัญหาหนุ่มสาวออกไปหางานทำนอกเมือง ส่งผลกระทบกับการคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ร่วมสำรวจปัจจัยที่ช่วยดึงดูดคนรุ่นใหม่กลับเข้ามาอาศัยในเมืองกันอีกครั้ง
เกียวโตพาสเทล วันซีดจางในยุคโควิด-19แม้เกียวโตจะเคยเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวกับทั่วโลก แต่เมื่อการเดินทางข้ามประเทศหยุดชะงัก เพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สีสันของเมืองใหญ่แห่งนี้ก็ดูจะซีดจางลงไปไม่น้อย มาร่วมสำรวจอดีตเมืองหลวงแห่งแดนอาทิตย์อุทัยในวันไร้นักท่องเที่ยว
มาตุภูมิแห่งขุนเขาและรกรากจากมารดาการกลับมายังบ้านเกิดครั้งนี้ของ "พี่ธันวา" นอกจากจะได้มาชมงานแห่เทพเจ้ากรุณามัยประจำปี ตื่นตาตื่นใจกับผู้คนที่ล้นหลามแล้ว ในปีนี้ยังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่ง คือวันแม่ประจำปีของชาวเนปาล พี่ธันวาได้กลับมาเยี่ยมชมงานวันแม่ในประเทศที่ให้กำเนิดด้วย
มนตราที่ตื่นจากการหลับใหลพาไปที่ "เนปาล" ดินแดนที่ไม่ได้มีเพียงวิกฤติโควิด-19 ให้ฟันฝ่าเท่านั้น เศษซากความรุนแรงที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติทิ้งไว้ตั้งแต่ปี 2015 คือสิ่งที่ชาวเนปาลต้องเก็บกวาด สร้างศรัทธาขึ้นมาใหม่ ฟื้นฟูร่างกาย ชีวิตให้แข็งแรง พร้อมสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ
หลังคาโลกหลังวิกฤตกับหลากชีวิตในเนปาลหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง จะพาไปที่ “เนปาล” ดินแดนที่ความเชื่อและความศรัทธาหลอมรวมหนักแน่นทุกพื้นที่ แม้โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นของที่นี่ แต่พวกเขายังไม่ลืมช่วงเวลาที่ต้องฟันฝ่าวิกฤตโรคระบาดอย่างสาหัสไปได้
ร่มเย็นเป็นสุขศิลป์แบบล้านนาความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดีในเมืองเอกแห่งศิลปะ ศิลปวัฒนธรรมอันกลมกลืนระหว่างความเก่าและใหม่ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของผู้คนและวัฒนธรรม
เส้นทางความมั่งคั่งรุ่มรวยในล้านนาศิลปวัฒนธรรมพม่ากลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งบนล้านนา ความกลมกลืนทางวัฒนธรรมหลอมรวมให้เอกลักษณ์ลำปางน่าพิสมัย วัฒนธรรมพม่าจึงเด่นชัดในสมัยนี้ ผ่านวัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน และอาหาร
เส้นทางจตุรทิศการค้าล้านนาเศรษฐกิจการค้าสะท้อนความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในอดีต หลังยุคพม่าเข้าปกครองเมืองล้านนา ก่อนโดนกวาดต้อนออกจากดินแดน ชาวพม่าเดินทางมาค้าขายในล้านนา นำเอาภูมิปัญญาแลกเปลี่ยนสินค้ากับผู้คนต่างเผ่าพันธุ์ ผสมกลมกลืนจนเป็นวัฒนธรรมปัจจุบัน
ล้านนา บนแผนที่ชีวิตที่ไม่เคยสูญสำเนียงเสียงเพลงอันเนิบช้า ผนวกกับท่วงท่ากริยาอ่อนช้อยอ่อนหวาน เป็นภาพจำชาวล้านนา รวมถึงความรุ่งเรืองของศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร์ และการรวมหัวเมือง กวาดต้อนผู้คนและมีความหลากหลายในชาติพันธุ์ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะอาชีพ จนไปถึงพิธีกรรมความเชื่อ
วัดร้างชุกชุมพันผูกชุมชนสืบเสาะและส่องลอดเข้าไปในวัดร้าง เพื่อตามหาจิกซอว์ส่วนต่าง ๆ นำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นภาพขนาดใหญ่ ที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างวัดร้างและชุมชนในกรุงเทพมหานครสมัยต่าง ๆ
วัดร้างและการประกอบสร้างกรุงเทพฯพาไปชมกระบวนการก่อร่างสร้างกรุงเทพฯ เพื่อเป็นมหานครในยุคอดีตผ่านศาสนสถานที่จะเป็นประจักษ์พยาน และหาคำตอบว่า ความสัมพันธ์ของวัดและการพัฒนาเมืองนั้นนำมาสู่การเกิดวัดร้างในกรุงเทพฯ อย่างไร ?
ศรัทธาในศานติเมื่อความศรัทธาตามหลักศาสนาพราหมณ์ฮินดูเป็นที่คุ้นเคยของชาวไทยพุทธ เทวสถานต่าง ๆ ใน กทม. กลายเป็นหมุดหมายที่คนไปสักการะไม่ขาดสาย คติความเชื่อและรายละเอียดเชิงประติมานวิทยาเป็นสิ่งที่น่าศึกษาให้เข้าใจ
ศรัทธาลูกผสมที่พึ่งทางจิตใจของชาวไทยยุค ร.ศ.240 อาจไม่จำกัดอยู่ในเขตพุทธาวาสเหมือนอดีต ความวุ่นวายกับสังคมยุคใหม่ ส่งผลให้ผู้คนหาหลักยึดทางความหวัง ร่วมสำรวจวิถีการบูชาสักการะบทใหม่ และองค์เทพประจำใจที่ไม่ได้ถูกส่งต่อความเชื่อจากบรรพบุรุษ
ศรัทธาโพ้นทะเลเมื่อต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาใช้ชีวิตอยู่ไกลโพ้นทะเล ศาลเจ้าอันเป็นที่ประดิษฐานของเทพองค์ต่าง ๆ จึงกลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเป็นศูนย์กลางให้ผู้คนจากแผ่นดินเดียวกันได้มารวมตัว
มองกรุงเทพฯ จากชีวิตนอกวังของแม่พลอย“แม่พลอย” ตัวละครที่สะท้อนชีวิตของผู้คนและวิถีชาววังในสมัยนั้นได้อย่างหมดจด เธอเล่าความนิยมอันเปลี่ยนผ่านแต่ละสมัยด้วยสายตาและคำบอกเล่าที่ทำให้เรารู้สึกสนุก แม้ไม่เคยประสบด้วยตนเอง
ยลวิถีรัตนโกสินทร์ผ่านวรรณกรรม “สี่แผ่นดิน”ถึงวาระครบรอบ 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงที่มีเรื่องราว ตำนาน และความทรงจำ มุมมองกรุงเทพมหานครของเราแตกต่างกันไป หากแต่ยังปรากฏภาพความทรงจำผ่านวรรณกรรม “สี่แผ่นดิน” โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
จันทบูรโอชา กรุ่นกลิ่นที่ไม่จางหายเมื่อพูดถึงวัฒนธรรมอาหารเมืองจันทบุรี ได้หยิบใช้ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธรรมชาติอย่างคุ้มค่า รสชาติมีเอกลักษณ์ วาดลวดลายเครื่องเทศไปถึงกรุงเทพฯ มาดูกันว่าความเข้มข้นเครื่องเทศในอนาคตของเมืองจันทบูรจะเป็นอย่างไร ?
ความบริบูรณ์จากป่าสู่ลำน้ำจันทบูรชาวชองผู้ถ่อแพล่องลำน้ำเพื่อนำของป่า เครื่องเทศมาแลกสินค้าเมืองจันทบุรี มีวิถีชีวิตการกินอยู่เรียบง่าย พวกเขาเชื่อว่าธรรมชาติคือสิ่งบริสุทธิ์ จึงไม่ลังเลใจที่จะนำมาทำอาหาร และสร้างแนวคิดโภชนาบำบัดให้กับผู้อื่นได้ต่อไป
ตามรอยเส้นทางสายเครื่องเทศจันทบูรการเดินทางสู่จุดเริ่มต้นของ "เครื่องเทศ" เริ่มต้นในแถบตะวันออกอย่าง จ.จันทบุรี ทั้งพริกไทย, กระวาน และเร่ว เดินทางจากเขาสูง ล่องลำน้ำจันทบูรสู่ทะเล เป็นพืชพันธุ์ที่ชาวจันทบุรีหวงแหนและเพาะปลูกอยู่ไม่น้อย