หลังจากหลายฝ่ายแสดงความกังวล ที่รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจาก “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ” ลงสู่มหาสมุทร ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 66 ล่าสุดได้มีการเก็บตัวอย่างปลาหลายชนิด ใกล้กับ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ” รัศมี 5 กิโลเมตร ไปตรวจสอบ โดยยังไม่พบปริมาณไอโซโทปปนเปื้อนในตัวปลา
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วางแผนเก็บตัวอย่างปลาทุกวันเพื่อตรวจวิเคราะห์และให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับผลลัพธ์ต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน นอกจากนี้กระทรวงสิ่งแวดล้อม ญี่ปุ่น ยังได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลภายในรัศมี 50 กิโลเมตร จากโรงงานมาตรวจสอบด้วย
สำหรับน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ” ที่จะปล่อยลงในมหาสมุทร มีปริมาณมากกว่า 1.3 ล้านตัน (สระว่ายน้ำโอลิมปิก 500 สระ) ทั้งนี้จะมีการแบ่งการปล่อยน้ำปนเปื้อนออกเป็น 4 เฟส โดยเฟสแรกได้เริ่มขึ้นแล้วในตอนนี้และจะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 67 โดยมีการประเมินเอาไว้ว่าหากต้องทำให้ครบทั้ง 4 เฟส น่าจะต้องใช้เวลาถึง 30 ปีเลยทีเดียว
--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : asia.nikkei