สุขเต็มคำกับเมนูจากไก่ดำที่บ้านเขาหลักบ้านเขาหลักจังหวัดตรัง เต็มไปด้วยอาหารจานสุขที่ผู้ใหญ่ทำขึ้นมาแล้วส่งต่อความรู้ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีอาหารอร่อยมากโภชนาการ ที่นี่ยังมีวัตถุดิบชั้นดีที่หาไม่ได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เกต และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี อย่าง "ไก่ดำ"
กินฉลู อยู่สบาย ที่บ้านท่าข้ามควาย จังหวัดสตูล"หอยเดือน" เป็นหอยลักษณะแบนต้องนำมาย่างเพื่อให้เปลือกอ้าออกก่อนนำมาต้ม ยำ ทำแกง คือวัตถุดิบแสนอร่อยของชุมชนบ้านท่าข้ามควาย ที่ดำผุดดำว่ายหากันอย่างสนุกสนานสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็ก ๆ
บ้านคลองรี วิถีชาวบ้านกับตาลโตนดแสนอร่อยทะเลสาบสงขลาที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา คือ ตู้กับข้าวขนาดมหึมาที่เด็ก ๆ และชาวบ้านต่างพากันลงเรือไปหาวัตถุดิบมาทำกับข้าว ไม่ว่าจะเป็นปลามิหลังตัวใหญ่ที่นำมาใส่ในแกงกะทิ กุ้งก้ามกรามต้มให้หวาน ด้วยน้ำตาลโตนดจากสวน
จานสุขแปลกตากับโภชนาดาราอั้งพาเด็ก ๆ ไปเรียนรู้การเก็บแกนต้นเต่าร้างอ่อน มาทำเป็นแกงที่ชื่อว่าแกงจึ๊ก ก่อนจะตบท้ายด้วย เมนูย่างจากใบฟักหม่น และเมนูหลามไก่ในกระบอกไม้ไผ่ ส่งต่อความรู้ด้านโภชนาการอันเป็นเอกลักษณ์เหล่านี้สู่เด็ก ๆ ในชุมชน
ตำนานจานเลี้ยงผีกับกับโภชนาการที่ดี ณ บ้านท่าช้างวัฒนธรรมอาหารที่ผูกกับความเชื่อศาสนาผีที่มีมายาวนานในพื้นที่อุษาคเนย์ หรือว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันของคนในครอบครัวผ่านเมนู แกงเลี้ยงผีปู่ย่า ซึ่งใช้หมูทุกส่วนมาต้มรวมกันในวันสำคัญตามความเชื่อของผู้คน
อร่อยเหลือ (จิ้น) ตนาการที่บ้านโป่งกวาว"บ้านโป่งกวาว" ชุมชนที่นี่เลี้ยงหมูเอง และมีการนำเนื้อหมูไปทำเป็นอาหารหลากหลายประเภท แต่ที่ขึ้นชื่อก็คือ การนำเนื้อหมูไปทำจิ้นส้ม หรือว่าแหนมนั่นเอง ผ่านภูมิปัญญาของผู้คนในชุมชนส่งต่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำตั้งแต่เลี้ยงหมูไปจนถึงทำจิ้นส้ม
สุขคำใหญ่ที่บ้านทะเลน้อยนอกจากที่บ้านทะเลน้อยจังหวัดระยอง จะมีการแปรรูปอาหารทะเลอย่างต่อเนื่อง ที่นี่ยังเป็นสถานที่หลักในการปลูกผักกระชับจริงจังขึ้นในประเทศไทย ผักที่มีสรรพคุณทางอาหารหลากหลายประการ ตอบรับกระแสไมโครกรีน
สุขรสเปรี้ยวกับสำรับน่าเคี้ยวที่บ้านปลายนาสวนสำรวจจานสุขกับเมนูชื่อแปลกอย่าง แกงขี้เกียจใส่แตงเปรี้ยว หลนดอกบอน น้ำพริกส้มย้อ แกงใบส้มป่อย ล้วนแล้วแต่ถูกเก็บรักษา และส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น ที่บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
สุขเต็มสิบที่บางสระเก้าจันทบุรีมีพื้นที่ติดชายทะเลมากมาย มีทั้งอาชีพประมง ทำสวน และหัตถกรรม ที่บางสระเก้าแห่งนี้แม่ ๆ พ่อ ๆ พาเหล่าเด็กรุ่นใหม่ในชุมชนออกตามหาวัตถุดิบมาเป็นเมนูจานสุขประจำวัน "จิ้งหรีด" วัตถุดิบที่กำลังเป็นเทรนด์ในด้านอาหารแห่งอนาคต
เผ็ดจัดจ้านที่บ้านหนองทรายความพิเศษของโภชนาการเพื่อเยาวชนที่บ้านหนองทราย ไม่ได้มีดีแค่วัตถุดิบที่หาเก็บได้จากในท้องถิ่น แต่ยังเต็มไปด้วยฝีไม้ลายมือของผู้ใหญ่ในชุมชน แปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รีให้เป็นเส้นพาสต้า เคล้าคลอไปกับเมนูดั้งเดิมประจำถิ่น
สุขโพนจานผ่านวิถีไทโส้ที่นครพนมเป็นพื้นที่ที่ยังมีชาวไทโส้อาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างแน่นแฟ้น ทำให้การถ่ายทอดความรู้ด้านโภชนาการจากผู้ใหญ่ลงไปถึงเด็กนั้นทำได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจคือการพึ่งพาอาศัยกันของธรรมชาติกับเกษตรกรรมอย่างการทำนา
สุขพอกพูนกับหอยพอกตราดบ้านท่าระแนะที่ตราดนั้นเป็นอีกชุมชนที่ยังคงวิถีโภชนาการชาวบ้านเอาไว้ได้เป็นอย่างดี สะท้อนผ่านการหยิบจับเอาวัตถุดิบจากในธรรมชาติของจังหวัดตราดที่มีมากล้น ทั้งจากป่าไม้ไปถึงท้องทะเล
จานสุขภูไท อร่อยได้ใจ ที่บ้านโนนหอม"ชาวภูไท" มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ในครอบครัวอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากอาหารดั้งเดิมจากธรรมชาติที่ทำกินกันมาต่อเนื่องยาวนานไม่ขาดสายแล้ว ยังมีการมองไปข้างหน้า พัฒนาต่อยอดวัตถุดิบชั้นดีในชุมชน
สุขเปี่ยมล้นที่ชุมชนบ้านเชียงบ้านเชียงแหล่งมรดกวัฒนธรรมโบราณที่สืบสานความเชื่อและวัฒนธรรมมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ไส้กรอกบ้านเชียงสูตรเฉพาะที่กินแกล้มใบชะมวง ไปจนถึงใบหมอน้อยหรือหมาน้อย เจลลีธรรมชาติ เมนูหากินยาก
สุขล้นงาพาเพลินเพลงที่บ้านท่าโพที่โรงเรียนในชุมชนแห่งนี้ไม่ใช่มีแค่โภชนาการที่ดีเท่านั้น ยังมีการสอนให้เด็ก ๆ ทำอาหารได้เองด้วย โดยมีครูขับเคลื่อนสาธิตจริง ลงมือจริง มื้อนี้สอนทำสปาเก็ตตี ภายใต้โภชนาการที่ดีสำหรับเด็ก ๆ
วิถีดินเผาที่ชุมชนบ้านมอญชุมชนบ้านมอญ นอกจากจะนำทักษะการปั้นหม้อติดมือมาเป็นอาชีพแล้ว ยังไม่ทิ้งความรู้ทางด้านโภชนาการที่ปรับตัวให้เข้ากับบริบทรอบตัวตามยุคสมัย ส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
สุขซาบซ่ามากกว่ารสส้ม"บ้านวังส้มซ่า" แดนดินถิ่นคนรักส้มซ่า แหล่งปลูกและพัฒนาส้มซ่าที่จริงจังที่สุดในไทยตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เด็ก ๆ ที่นี่ได้รับการส่งต่อความรู้ทั้งในเรื่องของส้มซ่าเอง ไปจนถึงมื้ออาหารอื่น ๆ จากผู้ใหญ่ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
โรงเรียนบ้านลำแดงสำแดงสุขความเข้าอกเข้าใจกันของครูที่มีต่อนักเรียนของชุมชน และของนักเรียนที่มีต่อหน้าที่ตนเอง สอดประสานเป็นความร่วมมือที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดมาเป็นโภชนาการที่ดีของโรงเรียนบ้านลำแดง
เส้นสายแห่งวัฒนธรรมที่บ้านลำขนุนหลังจากเสร็จงาน เช่น กรีดยางตอนเช้าตรู่ เหล่าผู้คนในชุมชนมักมีทางเลือกด้านโภชนาการที่ต้องตอบโจทย์ในเรื่องของความรวดเร็วและคงไว้ซึ่งคุณประโยชน์ของแต่ละมื้อ ขนมจีนจึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของคนที่นี่
สุขล้นจานที่บ้านบางเตียว"หอยโล่" ไม่ใช่เพียงวัตถุดิบท้องถิ่นที่เสริมคุณค่าทางโภชนาการให้กับเด็ก ๆ ในชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นสัตว์น้ำจืดที่ชี้วัดความสะอาดของแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนอีกด้วย แม้หลายที่ปริมาณหอยโล่จะลดถอยลง