บอดีสูทช่วยการเคลื่อนไหวจากปัญญาประดิษฐ์ของคนไทยที่ช่วยในการเพิ่มศักยภาพในการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุที่ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเองได้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลงจากปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ติดตามความรู้จาก ดร.ธนรรค อุทกะพันธุ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
แคลเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายที่จะช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันแต่การรับประทานแคลเซียมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงควรกินคู่กับวิตามินดี 3 และวิตามินเค 2 ซึ่งจะช่วยให้ร่างการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ดีขึ้น ติดตามความรู้จาก พญ.เมชฌวิภาศ์ อารยางค์กูร แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย
การสูญเสียอย่างกะทันหันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถคาดการณ์ไว้ก่อนได้ เมื่อเกิดความคาดหวังมากยิ่งเกิดความรู้สึกสูญเสียมากตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงควรลดความคาดหวัง หรือมีการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับปัญหา ติดตามความรู้จาก ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิตและรองผู้อำนวยการกองบริหาร ระบบบริการสุขภาพจิต
อาหารช่วยลดค่าความดัน DASH หรือ (Dietary Approaches to Stop Hypertension) คือ แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง โดยยึดวิธีปฏิบัติตามหลักสากลเป็นหลัก มีความเหมาะกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตที่ต้องการคุมค่าความดันให้คงที่ และต้องการลดปริมาณการรับประทานยาให้น้อยลงตามหลักโภชนาการด้านอาหาร ติดตามความรู้จาก พญ.เมชฌวิกาศ์ อารยางค์กูร แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
สมุนไพรถั่งเช่าสีทองมีสรรพคุณเป็นยา ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนสามารถช่วยในเรื่องการรักษาโรค ช่วยให้ค่าความดันดีขึ้น ป้องกันเลือดไหลไม่หยุด และยังช่วยบรรเทาอาการขี้ร้อนขี้หนาวให้ดีขึ้นอีกด้วย แต่ยังมีข้อสงสัยว่าการรับประทานสมุนไพรนี้จะทำให้เสี่ยงเป็นไตวายจริงหรือไม่ ติดตามความรู้จาก รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวชศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม อ.ประจำสาขาวิชาโรคไต คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
เป็นงูสวัดแล้วเสียชีวิตได้จริงหรือไม่ ? โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสเกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน ในกลุ่มคนที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนจะสามารถส่งผลให้เป็นงูสวัดตามมาได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสอีสุกอีใสเข้าไปแอบซ่อนในโพรงประสาทของร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิคุมกันตกเชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะออกมาแสดงอาการเป็นงูสวัดได้ มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่มีความเครียดสูง แต่ในกลุ่มที่ไม่เคยเป็นอีกสุกอีใสมาก่อนจะไม่ได้รับเชื้อไวรัสจึงไม่ส่งผลให้เป็นโรคงูสวัดได้ ติดตามความรู้จาก อ.พญ.ศศธร สิงห์ทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
รับมือฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ด้วยการตรวจเช็คค่าฝุ่นในแต่ละวันผ่านแอปพลิเคชัน Air4thai ซึ่งเป็นแอปของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การควบคุมและป้องกันตนเองเมื่ออยู่ในสภาวะอากาศเป็นพิษ ติดตามความรู้จาก ดร.ศักดา ตรีเดช ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ
แนะนำแนวทางการรักษาอาการนิ้วล็อกแบบไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการใช้ปลายเข็มเข้าไปสะกิดปลอกหุ้มเส้นเอ็น เพื่อตัดลอกเยื่อหุ้มเอ็นบริเวณที่หนาตัวขัดขวางการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นออก โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาจากระดับความรุนแรงของอาการ ติดตามความรู้จาก นพ.นรฤทธิ์ ล้วนจำเจริญ แพทย์เชี่ยวชาญกลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.นพรัตนราชธานี
รู้หรือไม่ ? อาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์ กับ อาการข้ออักเสบจากโรครูมาตอยด์ ไม่ใช่โรคเดียวกัน และมีสาเหตุ อาการรวมถึงการรักษาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โรคเกาต์เกิดจากโรคข้ออักเสบที่มีผลึกเกลือ (Monosodium Urate) มักจะมีอาการข้ออักเสบเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย แต่โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อหุ้มข้ออย่างรุนแรง ทำให้ข้อผิดรูป และเกิดความพิการตามมาได้ติดตามความรู้จาก พญ.วิภาดา จาติเสถียร อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
โรคหัวใจสลาย Takotsubo Cardiomyopathy หรือ “ทาโกะ สึโบ” เกิดจากฮอร์โมนความเครียด ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดได้จากผลกระทบทางจิตใจ เช่น การสูญเสียคนรัก ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เช่น อาการแน่นหน้าอก เหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ ใจสั่น วูบหมดสติ และมีความเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ติดตามความรู้จาก นพ.วงศกร เหลืองพิพัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด รพ. จุฬาภรณ์
“ผิวแห้ง” ปัญหากวนใจที่เกิดขึ้นได้ในทุกฤดู นอกจากปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเกิดได้จากการสูญเสียน้ำของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจะมีการสูญเสียไขมันใต้ผิวหนังตามวัย รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาบางประเภท ซึ่งผู้ป่วยจะสังเกตอาการได้จากผิวที่เริ่มแห้ง เป็นขุย และมีอาการคัน ติดตามความรู้จาก อ.พญ.ศศธร สิงค์ทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
วัยทำงานเสี่ยงโรคเบาหวาน เนื่องจากพฤติกรรมการนอนน้อย รับประทานอาหารที่มีความหวาน มัน เค็ม ในปริมาณมาก โดยเฉพาะในเพศหญิงที่ชอบรับประทานขนมหวาน หรือการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันจึงต้องควบคุมน้ำหนัก และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมถึงการออกกำลังกายให้เพียงพออย่างสม่ำเสมอ ติดตามความรู้จาก พญ.พรทิพย์ ธีระวิทย์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
โรคเกาต์ เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งส่วนมากพบในเพศชายที่มีอายุมาก และพบผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี นอกจากนี้อาหารก็มีส่วนกระตุ้นทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์ได้ เช่น อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ น้ำตาลฟรุกโตสในน้ำผลไม้ ติดตามความรู้จาก พญ.วิภาดา จาติเสถียร อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
ธาตุเหล็ก วิตามินดี แคลเซียม เป็นกลุ่มวิตามินที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุได้ ซึ่งการรับประทานอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ร่างกายได้ดูดซึมวิตามินอย่างเต็มที่ ป้องกันปัญหาท้องผูกตามมา เช่น ถ้ารับประทานธาตุเหล็กควรรับประทานพร้อมวิตามินซี แคลเซียมควรรับประทานคู่กับแมกนีเซียม นอกจากวิตามินที่กล่าวมาจะทำให้ท้องผูกแล้วพฤติกรรมในแต่ละวันของตัวเองก็มีความเสี่ยงได้ เช่น ผู้สูงวัยไม่ค่อยขยับร่างกายจึงส่งผลให้กากอาหารอัดแน่นเกิดลำไส้อุดตัน เพราะฉะนั้นการขยับร่างกายบ้างจะช่วยให้ลำไส้ได้ขยับกระตุ้นการขับถ่าย และควรเช็กสุขภาพร่างกายก่อนรับประทานวิตามินทุกชนิดเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยพร้อมกับให้คำแนะนำปริมาณวิตามินที่ร่างกายควรได้รับ ติดตามความรู้จาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย
อาการเบาหวานลงเท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจเพราะไม่ดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ หรือร่างกายตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งหากละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการเบาหวานลงเท้ารุนแรงจนอาจถูกตัดขาหรือเท้าอย่างถาวรได้ การดูแลสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญไม่แพ้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการเกิดแผลขนาดเล็กก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อและเกิดแผลลุกลามได้ ติดตามความรู้จาก พญ.พรทิพย์ ธีระวิทย์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ส่งผลทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตเรื้อรัง และเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นควรป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วยการแก้ไขที่ต้นเหตุ ติดตามความรู้จาก นพ.ปรัชญา พุมอุทัยวิรัตน์ แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคไต รพ.จุฬาภรณ์